ชื่อโครงการ

          โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41

          Promoting quality education Border Patrol Police School project. Jurisdiction Division41 police patrol


ข้อมูลผู้เขียนหลัก

          นายอรุณ  หนูขาว ตำแหน่ง หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี


สถานที่ติดต่อ

          งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 077 355683 E-Mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


ระยะเวลาเริ่มต้นและปีที่สิ้นสุด

          เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องไม่มีระยะเวลากำหนดแล้วเสร็จ


คำสำคัญ

          คุณภาพการศึกษา,โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน,การจัดการเรียนการสอน,การให้บริการห้องสมุด, Education Quality, Border Patrol Police School, Learning and Teaching, Library services

เนื้อหา

         เป็นเวลา 60 ปี มาแล้วที่สมเด็จย่าได้ก่อตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและเมื่อสมเด็จย่าสิ้นพระชนม์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งประสบกับความขาดแคลนในหลายๆด้าน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาการอย่างดี พร้อมที่จะไปศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้เท่าเทียมกับคนอื่นๆ และช่วยให้ครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งครู ตชด. ซึ่งไม่ได้มีอาชีพครูโดยตรงทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระราชประสงค์ในสมเด็จย่า โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จึงเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่มหาวิทยาลัยฯต่างๆได้ร่วมดำเนินงานสนองงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับผิดชอบดำเนินงานสนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ในพื้นที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 11 โรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 120 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา 2) พัฒนาระบบการจัดและให้บริการห้องสมุดโรงเรียนให้สามารถบริการนักเรียน ครู ประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กองกลาง สำนักงานอธิการบดี เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ขอความร่วมมือบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆภายในมหาวิทยาลัยฯที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ เช่น สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และกลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ หอสมุดกลางและศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น และมหาวิทยาลัยฯได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อร่วมวางแผนการดำเนิน เช่น การประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ การนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียน การอบรมและพัฒนาศักยภาพครู การสนับสนุนสื่อและอุปกรณ์การศึกษา การพัฒนาระบบการให้บริการห้องสมุดโรงเรียน เป็นต้น

         นอกจากนี้ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโครงการได้ขอความร่วมมือจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ร่วมติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับคณะผู้บริหารและครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อร่วมดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรมดำเนินงาน ดังนี้

  1. กิจกรรมพัฒนาการจัดการการสอนทั้งในระดับปฐมวัยและประถมศึกษา

              มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 คณะผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จัดการนิเทศติดตามให้คำปรึกษาและช่วยเหลือแก่คณะครูในด้านการจัดการเรียน การสอน เช่น การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นสู่การเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ได้แก่ หลักสูตรการรำมโนราห์ ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนสามัคคี โดยใช้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยสอน นักเรียนสามารถเล่นดนตรีมโนราห์ ขับร้องกลอนมโนราห์ การร้อยลูกปัดชุดเครื่องแต่งกายมโนราห์ ได้ นอกจากนี้นักเรียนสามารถทำการแสดงมโนราห์ในงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างอีกทางหนึ่งด้วย เป็นต้น และหลักสูตรการทำไม้กวาดดอกหญ้าของโรงเรียนบ้านพันวาล โดยใช้ปราชญ์ชาวบ้านมาทำการสอนทำให้นักเรียนสามารถผลิตไม้กวาดดอกหญ้าไว้ใช้ ในโรงเรียน และจำหน่ายในชุมชน เป็นรายได้ของนักเรียนอีกทางด้วย เป็นต้น จากกรณีดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อบูรณาการสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียนให้นัก เรียนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น จนได้รับการยอมรับทั้งภายในและภายนอกชุมชน

              โดยการดำเนินงานดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือทางด้านวิชาการจากคณะครุศาสตร์ เช่น การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการสู่การเรียนการสอน รวมทั้งการอบรมและศึกษาดูงานของครูในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน การเขียนแผนการสอน การบันทึกหลังสอน การวิจัยชั้นเรียน การวัดและประเมินผล การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นต้น ทำให้ครูมีความรู้ ความสามารถและสามารถจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแล้ว คณะครุศาสตร์ก็ยังจัดโครงการนำนักศึกษาลงปฏิบัติการจัดค่ายเรียนรู้ต่างๆใน โรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะให้กับครูและนักเรียน รวมทั้งนักศึกษาคณะครุศาสตร์ก็ยังสามารถใช้สถานการณ์จริงในการเรียนรู้ เช่น การเรียนการสอน การผลิตสื่อ โดยทั้งหมดที่กล่าวมา ได้มีการบูรณาการสู่การเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ด้วย เช่น รายวิชาการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นการดำเนินงานที่ได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนทั้งในส่วนของนัก ศึกษามหาวิทยาลัยฯและนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

  2. กิจกรรมจัดระบบการให้บริการห้องสมุดโรงเรียน

              งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยหอสมุดกลางและศูนย์คอมพิวเตอร์ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ศิษย์เก่า คณะครูและผู้บริหารโรงเรียน ดำเนินการพัฒนาระบบการให้บริการห้องสมุดโรงเรียนโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด โรงเรียนระดับประถมศึกษามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการพัฒนาระบบห้องสมุด ให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองการใช้ประโยชน์ของครู นักเรียนและประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือตามหลักทศนิยมแบบดิวฮี้ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศ และการสืบค้นหนังสือ การทำบัตรห้องสมุด การบริการยืมยืนด้วยระบบบาร์โค้ด การให้บริการ E book การให้บริการสื่อการเรียนการสอนระบบ eDLTV การให้บริการสื่อออนไลน์ การให้บริการสืบค้นข้อมูลทาง Internet การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการจัดปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุดโรงเรียนให้ มีบรรยากาศที่น่าสนใจ เช่น การจัดทำป้ายนิเทศ การจัดมุมต่างๆ การจัดสวนภายนอกห้องสมุด เป็นต้น

              จากการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ถือเป็นภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยฯ คือ การให้บริการวิชาการแก่สังคมและการสนองงานโครงการตามแนวพระราชดำริ โดยในระยะที่ผ่านมา งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้บูรณาการสรรพกำลัง ทั้งในส่วนของบุคลากรและองค์ความรู้จากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจาก หลากหลายสาขาวิชาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ให้บริการวิชาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน หวังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้บูรณาการการดำเนินงานโครงการสู่การเรียนการสอนรายวิชาการ ผลิตสื่อและการวิจัย เรื่อง การสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้ ICT ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ของอาจารย์ผู้สอนสังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อีกด้วย

              การดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เกิดผลประโยชน์ที่สำคัญตามพระปณิธานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี คือ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น” ซึ่งสามารถเห็นได้จาก ผลการสอบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (O-NET) ของนักเรียนดีขึ้นตามลำดับ และจำนวนนักเรียนที่สามารถเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงในระดับ จังหวัด ที่เพิ่มมากขึ้น และชุมชนให้ความร่วมมือและร่วมพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มากขึ้น เป็นต้น นอกจากผลประโยชน์ที่เกิดกับโรงเรียน นักเรียนและชุมชนแล้ว มหาวิทยาลัยฯในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการยังได้รับประโยชน์จากการดำเนินงาน โครงการ เช่น การให้พื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งฝึก ประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน การผลิตสื่อของนักศึกษา การเป็นพื้นที่วิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษาในโรงเรียน รวมทั้งอาจารย์ที่ร่วมโครงการยังได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆในการ จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนห่างไกล ที่มีบริบทที่แตกต่าง มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงในชั้นเรียน ในโอกาสต่อไป

              โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นโครงการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงมีการวางแผนการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่ตลอดเวลา มีลักษณะการดำเนินงานแบบบูรณาการศาสตร์ รวมทั้งการใช้เครื่องมือและงบประมาณที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยในโอกาสต่อไปจะดำเนินการเพื่อเตรียมการให้โรงเรียนเข้าสู่ประขาคมอาเซียน และวางแผนการจัดการเรียนการสอนในลักษณะสองภาษา เป็นต้น ซึ่งเป็นผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการดำเนินงานโครงการในโอกาสต่อไป


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

website งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส. , website กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 , หนังสือเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน, หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับการสนองงานโครงการตามแนวพระราชดำริ

 

   

Free Joomla Lightbox Gallery