ชื่อโครงการ

        กรณีศึกษาโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพาตัวเองโดยประสานมีส่วนร่วมของภาคประชาชนของชุมชนบ้านพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

        A Case Study of the ability to rely on themselves by coordinating the involvement of the public sector of the community Phumriang Chaiya, Surat Thani.

ข้อมูลผู้เขียนหลัก

        อาจารย์ศราวุธ  ทองเนื้อห้า สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

ข้อมูลที่ติดต่อได้

        คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์-ธานี  เบอร์โทร 081-0818008  อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

คำสำคัญ

        ขีดความสามารถ (Capability)  การพึ่งพาตัวเอง (Self-reliance) การพัฒนา (develop)

หลักการและเหตุผล

          จากการที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ได้มีการดำเนินงานทางด้านบริการวิชาการแก่ชุมชน  ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธะกิจของคณะวิทยาการจัดการ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายมุ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างความรู้ในห้องเรียนและความรู้ภายนอกมหาวิทยาลัย  พัฒนาการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน โดยดำเนินการผ่านโครงการต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การเขียนบทความทางวิชาการ และการวิจัย  แต่จากทำการสังเคราะห์ผลการดำเนินงานผ่านโครงการต่างๆที่ผ่านมาของคณะวิทยาการจัดการ พบว่าเป็นการดำเนินโครงการที่ไม่ได้ก่อให้เกิดผลการพัฒนาต่อยอดให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาได้ด้วยตัวเอง คณะวิทยาการจัดการจึงมีแนวความคิดในการดำเนินโครงการบริการวิชาการ ที่จะก่อให้เกิดผลในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง จึงได้คัดเลือกกำหนดพื้นที่ในการดำเนินโครงการบริการวิชาการ ที่จะต้องมีการขับเคลื่อนโครงการในชุมชนนั้นๆ อย่างน้อย 3 – 5 ปี โดยใช้การบูรณาองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในคณะวิทยาการจัดการ และประสานองค์ความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย เพื่อก่อให้เกิดผลในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งพื้นที่ที่ผ่านการคัดเลือกคือ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          “บ้านพุมเรียง” เป็นชุมชนเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์และมีวัฒนธรรมที่หลากหลายและยาวนาน เป็นที่รู้จักของคนโดยกว้าง และเมื่อพูดถึงบ้านพุมเรียง ทุกคนก็รู้ว่าบ้านพุมเรียงมี ผ้าไหม อาหารทะเล สถานที่พักผ่อนและมวยไชยา เป็นสินค้าของบ้านพุมเรียงที่มีชื่อเสียง

          ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปัจจัยรอบด้าน บ้านพุมเรียงจึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะเป็นแหล่งอารยะธรรม มีทรัพยากรที่เพียบพร้อม ขาดแต่การขับเคลื่อนที่จริงจังและยั่งยืน ดังนั้นในฐานะที่เป็น สถาบันการศึกษาที่พัฒนาท้องถิ่น มีความต้องการที่จะเห็นภาพการพัฒนาบ้านพุมเรียง ที่สามารถยืนได้ด้วยศักยภาพของตัวเอง เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่การที่จะให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น สถาบันการศึกษาไม่สามารถที่จะทำได้แต่เพียงฝ่ายเดียว จำเป็นจะต้องมีภาคีเครือข่ายมาร่วมในการดำเนินโครงการ ทางคณะวิทยาการจัดการ จึงได้ประสานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย แกนนำชุมชนบ้านพุมเรียง ,เทศบาลตำบลพุมเรียง ,สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุมเรียง เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  2. เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ประชาชนไปสู่การพัฒนาศักยภาพชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน
  3. เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาของชุมชน

แนวทางในการดำเนินโครงการ

        ก่อนการดำเนินโครงการ ได้เชิญตัวแทนของภาคีเครือข่าย ร่วมกันวางแผนในการดำเนินโครงการ โดยได้กำหนดขั้นตอนและขอบเขตในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย

  1. จัดเวทีทำความเข้าใจกับหน่วยงาน / ภาคีความร่วมมือ
  2. การจัดทำข้อมูลศักยภาพเศรษฐกิจและทุนชุมชน
        2.1 ฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
        2.2 ฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
        2.3 ฐานข้อมูลด้านทรัพยากร
  3. จัดทำแผนที่แหล่งท่องเที่ยวในตำบล
  4. พัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ
  5. เวทีติดตามประเมินผล

        และจากการได้ดำเนินโครงการได้เกิดปรากฏผล ดังต่อไปนี้
        วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 ได้ดำเนินการจัดทำเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานและภาคีความร่วมมือ ณ ศูนย์เฝ้าเตือนภัยทางทะเล โดยมีหน่วยงานและภาคีความร่วมมือประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุมเรียง แกนนำชาวบ้านในชุมชนพุมเรียง ตัวแทนเทศบาลตำบลพุมเรียง ตัวแทนอำเภอไชยา จากการประชุมร่วมกันทำให้เกิดการตื่นตัวของภาคประชาชนที่ต้องการจะพัฒนาพื้นที่บ้านพุมเรียง

        วันที่ 3 ธันวาคม 2557 ได้ดำเนินการจัดประชุมแกนนำชาวบ้าน และปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อสำรวจและสังเคราะห์ศักยภาพทางเศรษฐกิจและทุนชุมชน โดยมีการนำนักศึกษาเข่าร่วมโครงการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ซึ่งได้ฐานข้อมูลเศรษฐกิจและทุนชุมชน 3 ด้าน ประกอบด้วย ฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ,ฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและฐานข้อมูลด้านทรัพยากร และจาการดำเนินกิจกรรม ทางสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุมเรียง ได้นำผลที่ได้จากฐานข้อมูลนำไปเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการจัดโครงการจำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วยโครงการอบรมมวยไชยา แก่เยาวชนในชุมชน และโครงการพัฒนาสูตรน้ำพริกไข่ปู เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าของชุมชนต่อไป

        ในวันที่ 21 – 23 มกราคม 2558 ได้จัดประชุมเวทีชุมชน เพื่อนำฐานข้อมูลเศรษฐกิจและทุนชุมชน เพื่อทำแผนที่ทุนชุมชน ทั้ง 3 ด้าน และดำเนินการวางแผนการดำเนินโครงการในปี 2559 โดยยังคงดำเนินโครงพัฒนาศักยภาพชุมชนพุมเรียงต่อในปีที่ 2 แต่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพเพิ่มเติมอีกหนึ่งโครงการ คือการพัฒนาอาชีพประมง ซึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจของสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุมเรียง ที่พบว่าประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนพุมเรียงประกอบอาชีพประมงและอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประมง

        ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ได้ประชุมหน่วยงานและภาคีความร่วมมือประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลพุมเรียง แกนนำชาวบ้านในชุมชนพุมเรียง ตัวแทนเทศบาลตำบลพุมเรียง ตัวแทนอำเภอไชยา เพื่อทำการสรุปงานการดำเนินโครงการทั้งหมด เพื่อปิดโครงการ

        จากการดำเนินโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพาตัวเองโดยประสานมีส่วนร่วมของภาคประชาชนของชุมชนบ้านพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวของประชาชนในชุมชน ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตัวเอง ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน โดยชุมชนได้การถ่ายทอดทักษะในการเขียนโครงการและขับเคลื่อนโครงการด้วยตัวของชุมชนเอง โดยที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นเพียงแค่พี่เลี้ยงให้คำแนะนำ องค์กรภาคีอื่นๆ มีการประสานงานและร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการประสานงบประมาณ ทรัพยากรระหว่างองค์กร  และเกิดทัศนะในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน  ส่วนมหาวิทยาลัยได้นำเอาองค์ความรู้ไปให้บริการแก่ชุมชน และเกิดประเด็นวิจัยจากปัญหาที่เกิดในท้องถิ่น ซึ่งในการดำเนินโครงการครั้งนี้ได้มีการทำวิจัยเรื่อง“ระดับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี” มีได้นำผลการวิจัยมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์และทางด้านเศรษฐกิจ

        และจากผลการดำเนินโครงการที่ปรากฏ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กำหนดให้ดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยได้ผ่านการอนุมัติโครงการจากกรรมการประจำคณะ และกรรมการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี